บทความ

รู้จักกับ Blue Zone: ภูมิภาคที่มีประชากรอายุยืนยาว

รูปภาพ
ใครๆต่างก็อยากจะมีอายุที่ยืนยาว ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิจัยและแพทย์ทั่วโลก ต่างค้นหาวิธีการมากมาย เพื่อที่จะรักษาสุขภาพร่างกายของมนุษย์ ซึ่งจากการค้นหาเคล็ดลับแห่งความอายุยืนนี้ นำมาซึ่งการค้นพบการวิจัยสำคัญ ที่ถูกเผยแพร่โดย Dan Buettner นักสำรวจของ National Geographic เมื่อปี ค.ศ. 2004 โดยเขากับทีมงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประชากรศาสตร์ ได้เดินทางไปทั่วโลก เพื่อเสาะหาชุมชน ที่ผู้คนไม่เพียงแต่มีชีวิตอยู่ยืนยาวเท่านั้น แต่ยังใช้ชีวิตยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพอีกด้วย หลังจากทำการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากการเดินทาง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลประชากร และบทสัมภาษณ์ของผู้คนท้องถิ่น พวกเขาก็ได้ชุมชน 5 แห่ง ที่โดดเด่นในหลักฐานด้านการใช้ชีวิตอยู่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ซึ่งให้คำจำกัดความด้วยคำว่า Blue Zone เพราะผู้วิจัยได้ทำการใช้ปากกาสีน้ำเงิน ในการทำเครื่องหมายแผนที่หมู่บ้านที่มีคนอายุเกินร้อยปี  จากการวิเคราะห์เบื้องต้น การที่ประชากรใน Blue Zone มีอายุยืนมากกว่าพื้นที่อื่นๆของโลก อย่างเห็นได้ชัด หลักๆเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม การออกกำลังกายเป็นประจำ แม้อายุเกิน

ปาฏิหาริย์ของพระเจ้าที่ Santuario de las Lajas

รูปภาพ
สวัสดีครับ กลับมาเขียนบล็อก หลังจากไม่ได้เข้ามานาน วันนี้ จะเขียนถึงสถานที่สำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก ของประเทศโคลอมเบีย และทวีปอเมริกาใต้ครับ ที่แห่งนี้ คือ วิหาร Santuario de las Lajas ที่สร้างขึ้นในหุบเขาลึกของแม่น้ำกัวอิทารา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโคลอมเบีย ใกล้กับชายแดนประเทศ เอกวาดอร์ นั่นเอง ด้วยความที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างสองประเทศ จึงเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาคริสต์ ที่ดึงดูดผู้คนจากทั้งสองดินแดน ให้เดินทางเข้ามาจารึกแสวงบุญตลอดปี โดยจะเป็นช่วงสามครั้ง คือเมื่อมีการเฉลิมฉลองนักบุญองค์อุปถัมภ์ ในเดือนกันยายน โดยจะเดินทางมาถึงด้วยการเดินเท้า เป็นเวลานานกว่า 12 ชั่วโมง จากเมืองใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการแสวงบุญในเดือนธันวาคม และวันแรกของเดือนมกราคมของทุกปีอีกด้วย สิ่งที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ ที่ดึงดูดผู้คนให้เดินทางมาเยี่ยมเยือนที่วิหารแห่งนี้ นอกจากความสวยงามของสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์แล้ว สิ่งแรกที่ผู้คนนึกถึงนั่นคือ ความศักดิ์สิทธิ์ของรูปวาดพระแม่มารีบนหินกำแพงหลังวิหาร ที่สวยงามและยังคงเป็นปริศนา จากชื่อวิหาร คำว่า Laja

Yurt หรือ Ger บ้านของชนเผ่าเร่ร่อนที่แสนวิเศษในเอเชียกลาง

รูปภาพ
หากใครเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศแถบเอเชียกลาง หรือไซบีเรีย เช่น มองโกเลีย คาซัคสถาน หรือ ทางตะวันออกของรัสเซียบางส่วน อาจจะได้เห็นรูปทรงอันคุ้นตาของเต็นท์ทรงกลมหลังใหญ่ๆ ที่หุ้มด้วยผ้าหรือหนัง ตั้งเรียงรายอยู่ตามทุ่งหญ้า หรือเนินเขาอันกว้างใหญ่ สิ่งเหล่านั้นคือบ้านของชนเผ่าเร่ร่อนหลายกลุ่มในเอเชียกลางและไซบีเรีย มีชื่อเรียกว่า Yurt (เยิร์ต) หรือ Ger (เกอ) ในภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นเต็นท์กระโจมอาศัยแบบชั่วคราว สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับชนเผ่าเร่ร่อน ที่ใช้ชีวิตด้วยการล่าสัตว์ป่า คำว่า Yurt สันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์ภาษาเตอร์กิชโบราณ ที่แปลว่า เต็นท์ หรือ ที่อยู่อาศัย ในภาษาตุรกีสมัยใหม่ คำนี้ถูกใช้เป็นคำพ้องความหมายของคำว่า "บ้านเกิด" และ "หอพัก" ในขณะที่ในภาษาอาเซอร์ไบจาน มันหมายถึง "บ้านเกิด" หรือ "มาตุภูมิ" ส่วนชื่อเรียกในภาษามองโกเลีย คือ Ger นั้น มีความหมายว่า "บ้าน" เช่นกัน ในขณะที่ชื่อเรียกภาษาคาซัก กับ คีรกิซ ให้ความหมายว่า "บ้านสักหลาด" และ "บ้านสีเทา" ด้วยความรู้สึกที่มองจากรูปร่างภายนอก ว่าห่อหุ้